วันพุธที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2560

ท่อไอเสีย มีประโยชน์ยังไงทำไมคนถึงเปลี่ยนกัน ?



ส่วนประกอบของท่อไอเสีย(Muffler)


สำหรับท่อไอเสีย(Muffler) นี้เป็นอีกส่วนหนึ่งที่เหล่าวัยรุ่น วัยแรง และขาซิ่งทั้งหลายนิยมปรับแต่งกัน เพราะในส่วนนี้มันมีความสำคัญเป็นอันดับต้นๆ ของการแต่งรถ จึงทำให้มีหลายโรงงานที่ทำการผลิตชุดท่อไอเสีย และปลายท่อไอเสียแต่งออกมาจำหน่ายกันเช่น HKSJS RACINGMUGENWALDJASMATRUSTGREDDYBLITZA'PEXIRALLIARTINJENIMPULAMUSESTINISMOTRDและ MAZDA SPEED ส่วนการทำงานของระบบท่อไอเสียจะเป็นอย่างไรนั้น วันนี้ทางทีมงาน Boxzaracing.com ของเราจะพาไปชมกันครับ  
          ท่อไอเสียคือ ท่อทางเดินที่ใช้ในการระบายไอเสียออกจากเครื่องยนต์ และลดเสียงในการจุดระเบิดให้ลดน้อยลงแถมยังช่วยกรองมลพิษให้ออกมาภายนอกได้น้อยลง
ตัวอย่างท่อไอเสียแบบแต่ง

  สำหรับเจ้าไอเสียที่มันออกมาจากเครื่องยนต์นี้คือ สิ่งที่ยังคงหลงเหลือจากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อเพลิงที่ทำการผสมกับอากาศ หรือไอดี ซึ่งมันจะประกอบไปด้วยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์, คาร์บอนมอนนอกไซด์, ซัลเฟอร์ไดออกไซด์, ไนโตรเจนไดออกไซด์, ฟอสฟอรัส และพวกโลหะหนักต่างๆ เช่น ตะกั่ว และโมลิบดีนัม ซึ่งเจ้าสารเหล่านี้จะออกมาในรูปแบบของก๊าซที่พุ่งออกมาภายใต้แรงดันของกระบอกสูบ และส่งต่อออกมายังท่อร่วมไอเสียแล้วออกไปสู่ปลายท่อไอเสียต่อไปนั่นเอง


แหล่งที่มา : http://car.boxzaracing.com/knowledge/47

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560

มาทำความรู้จักกับ ไส้กรอกรถยนต์




         ไส้กรอกรถยนต์

ไส้กรองรถยนต์

ไส้กรองอากาศ (Air  filter) 

ไส้กรองอากาศมีหน้าที่สำคัญ  คือ  ดักฝุ่นละอองและสิ่งสกปรกไม่ให้เข้าไปในเครื่องยนต์  แต่เมื่อใช้งานไปนาน ๆ อาจทำให้เกิดอาการอุดตัน  ส่งผลให้อากาศผ่านเข้าไปในกระบอกสูบได้น้อยลง  ทำให้การเผาไหม้ในห้องเครื่องยนต์ไม่สมบูรณ์  ปกติเราควรเปลี่ยนไส้กรองอากาศทุก 20,000 กิโลเมตร หรือมากกว่านั้นหากขับขี่รถในบริเวณที่มีฝุ่นมากเป็นประจำ  เมื่อไส้กรองอากาศสกปรกจะสามารถสังเกตอาการของรถยนต์ได้  ดังนี้
   1.  เครื่องยนต์กำลังตก
   2.  เครื่องยนต์สั่น
   3.  สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิงมากกว่าปกติ
   4.  ควันไอเสียมีสีดำ
โดยทั่วไปปริมาณอากาศที่ใช้ในการเผาไหม้ของเครื่องยนต์นั้นมี น้ำหนักประมาณ 15 เท่าของน้ำมันเชื้อเพลิงหรือประมาณ 100-200 ลบ.ฟุต ต่อนาที  ซึ่งนับว่ามีปริมาณค่อนข้างเยอะทีเดียว  หากมีฝุ่นผงสิ่งสกปรกปะปนอยู่ในอากาศ  และสิ่งเหล่านี้เข้าไปในห้องเผาไหม้  จะทำให้เกิดการสึกหรอในเครื่องยนต์สูง  จากอายุการใช้งาน  200,000  กม. อาจจะลดลงมาเหลือแค่ 50,000 กม. ก็เป็นได้  ด้วยเหตุนี้จึงต้องมี “ไส้กรองอากาศ”  เอาไว้กรองหรือกักเก็บ สิ่งเหล่านี้เอาไว้  ไม่ให้เล็ดลอดเข้าไปในห้องเผาไหม้

นอกจากนั้น  ไส้กรองยังมีส่วนช่วยลดเสียงดังที่เกิดขึ้นจากเครื่องยนต์ดูดอากาศเข้าไปอีกด้วย  โดยไส้กรองจะทำหน้าที่เป็นผนังกั้นเสียงของลมที่ลูกสูบดูดเข้าไปในห้องเผาไหม้ทางท่อไอดีไส้กรองอากาศของรถยนต์  ที่นิยมใช้งานส่วนใหญ่  มีอยู่  2  ชนิด  คือ แบบเปียก  และแบบแห้ง

ไส้กรองอากาศแบบเปียก 

ไส้กรองแบบเปียก  หรือ “ไส้กรองแบบน้ำมัน”  ใช้น้ำมันเป็นตัวจัดการกับฝุ่นผง  ซึ่งนิยมใช้กันอยู่  ในรถรุ่นเก่าอย่างรถเบนซ์ยุค  “หลังเต่า”  หรือ “หลังคาโค้ง”  สมัยทศวรรษที่ 50 หรือในรถโฟล์ค  “เต่า”  ลักษณะของไส้กรองแบบเปียกจะมีน้ำมันหล่อไว้ภายใน  อากาศจะไหลผ่านไปในหม้อกรอง  ลงสู่ด้านล่างที่มีน้ำมันขังอยู่  เศษฝุ่นผง  ที่หนักกว่าจะวิ่งไปสู่น้ำมันและถูกจับเอาไว้  พร้อมกันนั้นอากาศที่วนกลับขึ้นสู่ด้านบนก็จะพาเอาละอองน้ำมันเป็นฝอยเล็ก ๆ ติดไปด้วย ฝุ่นละอองในอากาศจะเกาะกับฝอยน้ำมันเหล่านั้น  เมื่อผ่านตะแกรงโลหะก็จะถูกกรองเอาไว้  ต่อจากนั้นอากาศจะวนกลับลงมาอีกครั้ง  เข้าสู่ใจกลางหม้อกรองแล้วเข้าสู่ห้องเผาไหม้

ไส้กรองอากาศแบบแห้ง

ไส้กรองอากาศแบบแห้งส่วนใหญ่จะทำจากกระดาษกรองพับเป็นครีบ หรือบางทีก็ทำด้วยเส้นใยสังเคราะห์ รถรุ่นใหม่นิยมใช้ไส้กรองแบบนี้มาก เพราะมีน้ำหนักเบาใช้เนื้อที่น้อย หรือสามารถออกแบบในลักษณะต่างๆ เก็บไว้ตามที่ว่างได้ง่าย และไม่ยุ่งยากในการทำความสะอาด หรือเปลี่ยนใหม่

อย่างไรก็ตามระหว่างการใช้งานที่ยังไม่ถึงเวลาเปลี่ยนไส้กรอง เราก็ควรถอดออกมาทำความสะอาด ทุกๆ 2,000-5,000 กม. โดยขึ้นอยู่กับการใช้งาน เช่น ถ้าขับรถยนต์อยู่ในเมืองเป็นประจำ หรือใช้งานในเส้นทางที่มีฝุ่นมาก ก็ควรทำความสะอาดบ่อยครั้งกว่า ถ้าเป็นไส้กรองแบบเปียกควรถอดออกมาล้างและเปลี่ยนน้ำมัน ส่วนพวกไส้กรองอากาศแบบแห้ง ชนิดที่ไส้กรองเป็นกระดาษธรรมดาสามารถนำมาเป่าทำความสะอาดได้โดยเป่าจากภายในออกสู่ภายนอก ถ้าเป่าย้อนทางจากภายนอกเข้าสู่ด้านใน ลมที่เป่าจะดันให้ละอองให้ฝังตัวลึกเข้าไปอีก ทำให้ไส้กรองอุดตันเร็วและมากกว่าเดิม

   ไส้กรองอากาศแบบแห้ง สามารถแบ่งตามลักษณะออกเป็น 2 ประเภทคือ แบบที่เป็นกระดาษกรอง หรือเส้นใยตามธรรมดา กับแบบที่มีน้ำยาเคลือบกระดาษกรองเอาไว้ เพื่อเพิ่มคุณสมบัติในการดักจับสิ่งสกปรกให้ดีขึ้น ลักษณะคล้ายๆ กับพวกไส้กรองแบบเปียกนั่นเอง แต่ผู้ผลิตจะเคลือบน้ำยามาให้เรียบร้อย ไม่ต้องมาชโลมเองกันภายหลัง เมื่อไส้กรองอากาศผ่านการใช้งานไประยะหนึ่ง สิ่งสกปรกที่ติดอยู่กับไส้กรองก็จะทำให้ไส้กรองอุดตัน อากาศไม่สามารถผ่านเข้าไปในห้องเผาไหม้ได้สะดวกและมากเท่าที่ควร เครื่องยนต์มีอัตราเร่งลดต่ำลงพร้อมทั้งมีอัตราสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงสูงขึ้น จึงต้องทำการเปลี่ยนไส้กรองหรือทำความสะอาดไส้กรอง โดยทั่วไปไส้กรองอากาศนี้จะมีอายุการใช้งานประมาณ 10,000 กม. หรือ ตามที่บริษัทรถกำหนดไว้
แหล่งที่มา : https://www.cockpit.co.th/accessories.aspx?accessoriesID=4

ปั๊มติ๊ก คืออะไร? ทำงานยังไง



ปั๊มติ๊ก คืออะไร? ทำงานอย่างไร ? ==>  เรามีคำตอบ


ส่วนประกอบต่างๆ ของปั๊มติ๊ก


ปั๊มติ๊ก เพื่อนๆ หลายคนที่คลุกคลีอยู่กับรถซิ่ง รถแต่ง หรือรถแข่งคงจะรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่สำหรับหลายๆ คนที่ยังไม่รู้ว่าเจ้าสิ่งนี้คืออะไร มีความสำคัญอย่างไรกับรถคุณปั๊มติ๊ก คือชื่อของปั๊มน้ำมันเพลิงในรถที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิน สำหรับชื่อเรียกของมันนั้นเหตุมาจากลักษณะการทำงานของมัน ที่ใช้หลักการตัดต่อกระแสไฟฟ้าที่ป้อนให้กับขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้แผ่นไดอะแฟรมขยับตัวเข้าออก เมื่อประกอบเข้ากับชุดลิ้นปิด-เปิด การขยับตัวของแผ่นไดอะเฟรมจะเกิดแรงดูด และแรงดันทำให้สามารถดูดน้ำมันเชื้อเพลิงจากถังเชื้อเพลิงป้อนให้กับระบบเชื้อเพลิงได้ เพราะเหตุนี้การทำงานของมันจึงมีเสียงดัง ติ๊กๆ นั่นจึงเป็นที่มาของชื่อที่เรียกกันว่า ปั๊มติ๊ก นั่นเอง
ตัวอย่างลักษณะหน้าตาของปั๊มติ๊ก

ในปัจจุบันนี้ เจ้าปั๊มเชื้อเพลิงลักษณะนี้หายากแล้ว ทั้งนี้ก็เพราะว่ารถสมัยนี้ส่วนใหญ่จะนิยมใช้ปั๊มเชื้อเพลิงแบบขับด้วยเฟือง และมอเตอร์ไฟฟ้าประกอบเป็นชุดเดียวกันกับชุดลูกลอยวัดระดับน้ำมัน และติดตั้งอยู่ในถังน้ำมันเชื้อเพลิง ข้อเสียของปั๊มเชื้อเพลิงแบบไฟฟ้า คือเราจะรู้ได้ยังไงว่าปั๊มเชื้อเพลิงทำงานหรือไม่ เพราะถ้าหากเป็นปั๊มติ๊ก มันจะมีเสียงให้ได้ยินว่าทำงานอยู่หรือไม่ แต่สำหรับรุ่นใหม่จะมีแค่อาการ 2-3 อย่างแสดงให้เห็น เช่นอยู่ๆ เครื่องยนต์ ก็ดับไปเฉยๆ แต่พอทิ้งเอาไว้ซักระยะหนึ่งก็สามารถติดเครื่องได้ หรือในบางครั้งเมื่อเร่งเครื่องแรงๆ ก็จะมีอาการสะดุด ให้ได้เห็น หรืออีกอย่างคือเครื่องยนต์เร่งไม่ขึ้น ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นอาการผิดปกติของระเชื้อเพลิงแทบทั้งสิ้น 
          สำหรับสาเหตุหลักๆ ที่สามารถทำให้ปั๊มติ๊กเสียหายได้นั้นก็จะมีอยู่หลายสาเหตุ เช่นการปล่อยให้ไฟเตือนน้ำมันโชว์บ่อยๆ ทั้งนี้ในขณะที่ไฟเตือนระดับน้ำมันโชว์นั้น มันแปลว่าน้ำมันในถังเชื้อเพลิงของรถคุณมีน้อยแล้ว ควรรีบเติม เนื่องจากเวลาที่คุณขับรถขึ้นลงสะพาน หรือเนินต่างๆ นั้น อย่างที่รู้กันดีว่าน้ำมันเป็นของเหลว ดังนั้นน้ำมันจะถ่ายเทไปยังจุดต่ำสุด ทำให้ในบางครั้งปั๊มติ๊กไม่สามารถดูดน้ำมันขึ้นมาได้ แต่จะดูดเอาอากาศเข้ามาแทน จึงทำให้ปั๊มเชื้อเพลิงไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม ที่ถูกออกแบบมาเพื่อดูด น้ำมัน ไม่ใช่อากาศเกิดการเสียหายได้ในที่สุด 
  แหล่งที่มา : http://car.boxzaracing.com/knowledge/1840


ความรู้เรื่องเกียร์ออโต้



        7 ข้อควรรู้ในการขับรถระบบเกียร์ออโต้ให้ถูกต้องและปลอดภัย


วันนี้เรามีเคล็ดลับของการขับรถเกียร์ออโต้มาเปิดเผย เพื่อให้คุณปลอดภัย แถมยังประหยัดเงินได้อีกด้วย จะเป็นอย่างไรนั้น ตามมาอ่านกันได้เลย


เกียร์ auto

              








          ปัจจุบัน รถยนต์ในตลาดเมืองไทยส่วนใหญ่มักใช้ระบบเกียร์อัตโนมัติหรือที่เรียกติดปากกันว่าเกียร์ออโต้ ซึ่งอำนวยความสะดวกให้กับผู้ขับขี่เพราะระบบจะเปลี่ยนเกียร์ให้อัตโนมัติ โดยมีตำแหน่งของเกียร์ในการขับเคลื่อนรถยนต์ดังนี้
  • ตำแหน่ง P ใช้สำหรับจอดรถในตำแหน่งที่ไม่กีดขวางรถคันอื่นหรือจอดในบริเวณที่ลาดชัน
  • ตำแหน่ง R ใช้ในการถอยหลัง เป็นตำแหน่งที่อันตรายมากที่สุด ให้เหยียบเบรกทุกครั้งที่เข้าเกียร์ เพื่อให้รถถอยหลังอย่างช้า ๆ
  • ตำแหน่ง N เป็นตำแหน่งเกียร์ว่าง ใช้ในการหยุดรถชั่วคราวหรือจอดรถในตำแหน่งที่กีดขวางเส้นทางจราจร
  • ตำแหน่ง D ใช้ในการขับขี่เพื่อเดินหน้ารถตามปกติ
  • ตำแหน่ง 2 ใช้สำหรับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่ไม่สูงมากนัก และสามารถใช้ความเร็วได้พอสมควร
  • ตำแหน่ง L ใช้สำหรับการขับขี่ขึ้นทางลาดชันที่สูงมาก และต้องใช้ความเร็วต่ำ

ข้อควรปฏิบัติในการใช้รถเกียร์ออโต้

หลังทำความรู้จักกับตำแหน่งเกียร์แล้วยังมีเกร็ดน่ารู้ต่างๆ ในการขับรถเกียร์อัตโนมัติให้ปลอดภัยอีกไม่ว่าจะเป็น…
  1. ก่อนสตาร์ทเครื่องยนต์ควรตรวจสอบให้เกียร์อยู่ในตำแหน่ง P และสตาร์ทเครื่องยนต์ในขณะที่เกียร์อยู่ในตำแหน่ง P เท่านั้น เพราะหากคันเกียร์คร่อมอยู่ในตำแหน่ง P – R แรงสั่นสะเทือนจากการสตาร์ทเครื่องยนต์ อาจทำให้เกียร์ดีดไปเข้าเกียร์ R ทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  2. ในการขับรถลงทางลาดชัน ต้องใช้เกียร์ตำแหน่ง “D3” แต่กรณีที่ทางลงนั้นชันมาก ๆ ให้เลื่อนเกียร์ไปที่ตำแหน่ง “2” เพื่อใช้เครื่องยนต์ช่วยเบรก (Engine Brake) ในขณะเดียวกันคุณควรเหยียบเบรกไปด้วย หรืออาจใช้เบรกมือ เพื่อช่วยในการหยุดรถที่ดียิ่งขึ้น
  3. ห้ามใช้เกียร์ “N” หรือ “D4” ในการขับรถลงทางชันมากๆ เพราะกำลัวงเครื่องยนต์ไม่พอ อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้
  4. การจอดรถแล้วไม่ดับเครื่องยนต์ในสถานการณ์ต่างๆ เช่น จอดรถเพื่อไปลงเปิดประตูบ้านหรือไปซื้อของริมถนน ไม่ควรใช้ตำแหน่ง N แต่ควรใช้ตำแหน่ง P และใส่เบรคมือทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้รถพุ่งไปข้างหน้า
  5. หากต้องการเปลี่ยนเกียร์ไปตำแหน่งอื่น เช่น จากตำแหน่ง N ไป D หรือ R ต้องทำในขณะที่รถยนต์จอดสนิท และควรเหยียบเบรกป้องกันกันรถเคลื่อน
  6. หากหยุดในชั่วแค่ 2-3 นาที ก็ควรอยู่ที่ตำแหน่ง D โดยแตะเบรกแทน แต่หากหยุดนานเกินกว่านี้ค่อยเปลี่ยนเป็น N และต้องการป้องกันรถไหลก็ใส่เบรคเบรกมือด้วย
  7. เปลี่ยนน้ำมันเกียร์ทุกๆ 6 เดือนหรือปีละ 2 ครั้ง จะช่วยยืดอายุการทำงานของระบบเกียร์ได้เพราะสภาพอากาศที่ร้อนจัดและการจราจรติดขัดในกรุงเทพฯ ทำให้รถยนต์ต้องวิ่งๆ หยุดๆ แรงดันน้ำมันสูง-ต่ำไม่คงที่ในระบบเกียร์สูงจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูง
                เพื่อความปลอดภัยของคุณและคนที่คุณรัก รวมถึงผู้โดยสารอื่นๆ ที่อาจอาศัยการเดินทางด้วยรถยนต์ของคุณ ลองตรวจสอบจากเกร็ดน่ารู้ที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัย ประหยัดเชื้อเพลิง ยืดอายุการใช้งานรถยนต์ระบบเกียร์อัตโนมัติทั้ง 7 ข้อนี้ว่าคุณควรปรับปรุงในส่วนใดบ้าง นับเป็นจุดเริ่มต้นง่ายๆ ในการสร้างสังคมขับขี่ปลอดภัยสไตล์ DirectAsia ที่คุณเองก็มีส่วนร่วมด้วยเช่นกัน

แหล่งที่มา : http://www.directasia.co.th/blog/did-you-know/automatic-transmission-car-usage/